คดีอาญา ลักทรัพย์ อายุความกี่ปี ยอมความได้ไหม รอลงอาญาไหม

Tripu02
Mar 30, 2021

--

ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

ความหมายของการลักทรัพย์ เป็นการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปโดยการแย่งทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง ถ้าเป็นการแย่งแต่กรรมสิทธิ์แต่ไม่แย่งการครอบครองอันนั้นเป็นยักยอกทรัพย์ นั่นคือในขณะทำการลักทรัพย์ทรัพย์ที่ทำการลักนั้นไม่อยู่ในการครอบครองของผู้กระทำความผิด เช่นมีบางคน เข้ามาลักขโมยโทรศัพท์มือถือของเราถึงในห้องนอนของเรา แบบนี้เป็นลักทรัพย์แต่จะ เป็นลักทรัพย์เหตุการณ์ตามมาตรา 335 หรือเปล่าก็ต้องมาดู ว่าเข้าองค์ประกอบความผิดหรือเปล่าซึ่งเป็นลักทรัพย์เหตุฉกรรจ์มีบทลงโทษหนักกว่าเดิม

ลักทรัพย์เหตุฉกกรรจ์ มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์

(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใดๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการหรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณที่ตนได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวอยู่ในสถานที่นั้นๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือ สาธารณ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณ
(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น

ความผิดตาม ข้อหาลักทรัพย์ที่เข้าเหตุฉกรรจ์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

คดีลักทรัพย์ ยอมความได้ไหม

จะเห็นว่าคดีอาญาลักทรัพย์ เป็นความผิดอันเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความกันได้ คือยอมความไปคดีก็ต้องดำเนินต่อไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ยอมความไปไม่มีประโยชน์

คดีลักทรัพย์ อายุความกี่ปี

เนื่องจากคดีลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาอันไม่อาจยอมความได้ดังนั้นอายุความจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95
มีอายุความ (3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
นั่นคือ ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

คดีลักทรัพย์ รอลงอาญา

มีหนทางใดที่จะทำให้คดีลักทรัพย์รอลงอาญาได้บ้าง อันนี้ เป็นเรื่องที่นอกเหนือการควบคุมแต่มันก็พอมีหนทางอยู่บ้าง เช่นการที่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้บรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ และมีการแถลงบอกต่อศาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอันนี้เป็นดุลยพินิจของศาลอันไม่อาจก้าวล่วง และต้องดูพฤติการณ์ด้วยว่าจำเลยหรือผู้ต้องหานั้นได้เคยกระทำความผิดมาก่อนหรือเปล่า และมีพฤติกรรมในการกระทำความผิดอย่างไรเพื่อดูประกอบกัน
ดังนั้นถ้าจะคาดหวังว่าเป็นคดีลักทรัพย์แล้วจะให้รอลงอาญา เราไม่อาจคาดคิดได้ อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลและอยู่ที่พฤติการณ์ในคดีของท่านเอง

https://sites.google.com/site/nitilawteam/law24hr

--

--

Tripu02
0 Followers

บทความความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ประวัติศาสตร์กฎหมาย คดีความประเทศไทย กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา