ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายคือ ผู้ใดแย่งกรรมสิทธิ์ ทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ขณะที่แย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์นั้น อยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิดอยู่แล้ว (แย่งกรรมสิทธิ์)
ถ้าทรัพย์นั้นขณะที่ แย่งกรรมสิทธิ์อยู่ในความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ ก็คือแย่งทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง จะมีความผิดตามข้อหาลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
คดียักยอกทรัพย์ยอมความได้หรือไม่
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ข้อหายักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ดังนั้นจึงมีเรื่องที่ต้องตามมาคือ
ยักยอกทรัพย์ อายุความกี่ปี
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
นั่นคือคดียักยอกทรัพย์มีอายุความ 3 เดือน
คดียักยอกทรัพย์มีทางออกหรือทางแก้ไขยังไง
ในเมื่อมันเป็นคดีความผิดอาญาอันยอมความได้ก็คุยกับผู้เสียหายหรือโจทก์ เพื่อบรรเทาความเสียหาย เช่น เราไปนำเงินโจทก์มาสมมุติว่า 500,000 บาท ลองคุยกับโจทก์ดูว่าเราจะสามารถผ่อนชำระให้เขาได้เดือนละกี่บาทอย่างไร ให้เป็นที่พอใจแก่เขา และเมื่อคุยตกลงกันแล้วก็ทำตามที่ตกลงกันไว้ด้วย อย่าสักแต่ว่ารับปาก
โทษคดียักยอกทรัพย์
ตามกฎหมายคดียักยอกทรัพย์มีโทษคือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อตอนที่ศาลพิพากษาท่านจะลงโทษเท่าไหร่ไม่ทราบ แต่กฎหมายเขียนไว้ตามนี้ อย่างระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีความหมายคือ ศาลท่านอาจลงโทษจำคุก 0–3 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าจะลงโทษตรงไหนแต่อยู่ภายในช่วงนี้ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้